คำว่า Like ทำหน้าที่ได้หลายแบบดังนี้
1) I like your new haircut. ฉันชอบผมทรงใหม่ของคุณ
He likes to go to the aerobics class every evening after work. เขาชอบไปแอโรบิคคลาสทุกเย็นหลังเลิกงาน
I am kind of like the car. ฉันค่อนข้างว่าชอบรถคันนั้น เขียนภาษาวัยรุ่นหน่อย ก็เป็น kinda (คายดะ) เป็น I am kinda like the car. ใช้ sort of ก็ได้ เป็น I sort of like the car
He feels like a swim. หรือ He feels like going to a swim. ก็ได้ เขาอยากไปว่ายน้ำ
ทั้งสี่ตัวอย่างด้านบน Like ทำหน้าที่เป็น Verb แปลว่า ชอบ นั่นเอง “ชอบที่จะ” จะใช้ like+to
2) I’d like you to come with me. ฉันอยากให้คุณไปกับฉัน ‘d like ย่อจาก would like แปลว่า want หรือต้องการ แต่จะสุภาพกว่าคำว่า want
I’d like a drink. ฉันอยากได้เครื่องดื่ม would like ไม่ต้องต่อด้วย to ก็ได้ แต่ต่อด้วย noun แทน หมายถึงว่า อยากได้อะไรบางอย่าง Subject + would like+ something นั่นเอง
3) He looks like his brother. เขามองดูคล้ายกับน้องชาย(พี่ชายก็ได้ ถ้าเจาะจงว่าเป็นพี่ชายก็ใช้ elder brother ถ้าเป็นน้องชายใช้ younger brother ถ้าหมายถึงพี่น้อง ไม่ระบุว่าพี่หรือน้อง หญิงหรือชายก็ใช้ sibling [ซิ-บลิ่ง) ก็ได้)
She is like her mother. เธอคล้ายกับแม่ของเธอ
Like I said, I don’t wear perfume. เหมือนที่ฉันบอก ฉันไม่ใส่น้ำหอม ประโยค Like I said ก็ย่อมาจาก It is like I said นั่นเอง
It looks like I am going to be in the office until late tonight. มันดูเหมือนว่าฉันจะต้องอยู่ที่ออฟฟิศจนกระทั่งดึกในวันนี้
ในที่นี้ like ทำหน้าที่เป็น preposition หรือ conjunction แปลว่า เหมือน something ประโยคที่สาม ก็แปลว่าเหมือนเหมือนกัน เหมือนหรืออย่างที่ฉันบอก This is like what he has done before. นี่เหมือนกับที่เขาเคยทำมาแล้วในอดีต
look like ก็คือดูเหมือน look like + noun สำหรับตัวอย่างแรก หรือ look like+ประโยค เหมือนตัวอย่างที่สี่ก็ได้ ประโยค I am going to be in the office … ทั้งประโยคนั้น ทำหน้าที่เหมือนเป็น noun อยู่ต่อท้าย Subject + look like + now นั่นเอง
จะเห็นว่าสรุปสำหรับข้อ 3 ได้ว่ามีรูปประโยคสองแบบเท่านั้นเอง คือ subject+is/am/are + like กับ subject + look(s) +like ถ้าเป็นแบบแรกก็คือเหมือน ประโยคหลังก็คือดูเหมือน (กรณีต่อด้วย noun) หรือ ดูเหมือนว่า (กรณีต่อด้วยประโยค)
เวลาจำไม่ต้องจำคำเรียกก็ได้ ว่า กรณีทำหน้าที่เป็น verb กรณีนี้ทำหน้าที่เป็น conjunction หรืออะไร ขอให้จำเป็นประโยค ๆ ไปเลย ระยะแรกอาจต้องท่องไปก่อน หลังจากจำได้แล้ว ก็พยายามฝึกคิดและพูดเป็นภาษาอังกฤษไปเลย เช่น ฉันอยากไปว่ายน้ำ ก็คิดเป็นภาษาอังกฤษไปเลย ไม่ต้องแปลว่า ฉัน ต้องใช้ I อยากจะใช้ like การที่จะฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องแปลจากภาษาไทยเลยนั้น เกิดจากการเห็นรูปประโยคบ่อย ๆ นั่นก็คือ การชอบอ่าน ชอบฟัง และชอบคิด เป็นภาษาอังกฤษนั่นเอง หากนึกไม่ออกว่าเขียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างไร ก็ค้นคว้า สมัยนี้หาใน Internet ง่ายน้อยกว่าพลิกฝ่ามือนิดเดียวค่ะ
เมื่อเราเห็นรูปประโยคซ้ำกันบ่อย ๆ –>จำรูปประโยคได้ เช่น Subject + like+ to +verb –>เอาไปประยุกต์ใช้กับ verb หลาย ๆ แบบ เท่าที่เรานึกถึง verb อะไร ก็เอามาลองใส่ได้ สมองสั่งสมไปเรื่อย ๆ จนเป็นอัตโนมัติ เวลานึกถึงเป็นภาษาอังกฤษ จะนึกออกทันที ส่วนการได้ยินประโยคในภาพยนตร์ แล้วรู่้ได้ทันทีนั้น เกิดจากฝึกฝนจากการฟังบ่อย ๆ เป็นพิเศษ ยากกว่าการเห็นรูปประโยคผ่านทางสายตา ควรที่จะฟังภาพยนตร์แบบเสียงในฟิลม์บ่อย ๆ และเวลาพูดก็ควรพูดให้ได้สำเนียงแบบฝรั่งพูดด้วย เพราะการพูดกับการฟังย่อมสัมพันธ์กัน เมื่อพูดสำเนียงถูก ก็จะฟังสำเนียงที่ถูกคือที่ฝรั่งพูดออกด้วย แต่การฟังฝรั่งพูดออกนั้น ก็ย่อมต้องเกิดจากการฟังบ่อย ๆ และพยายามพูดให้เหมือนด้วยเช่นกัน (ผู้เขียนก็พยายามอยู่เช่นกันค่ะ อิอิ)
Comments